Appme

Growing the Economy & Creating High Quality Jobs

ค่าครองชีพที่กรุงเทพสูงกว่าที่อื่นจริงหรือ?

ค่าครองชีพที่กรุงเทพสูงกว่าที่อื่นจริงหรือ?

ว่ากันด้วยเรื่องปากท้องและการหาเงินของทุกๆ คนแล้วนั้น เป็นอะไรที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตอย่างปฏิเสธไม่ได้ โดยเฉพาะเรื่องของ “ค่าครองชีพ” ซึ่งจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตทั่วไปของทุกๆ คนเป็นอย่างมาก วันนี้เราจึงอยากพาทุกๆ ท่านไปค้นหาคำตอบกันสิ๊ว่า “ค่าครองชีพที่กรุงเทพสูงกว่าที่อื่นจริงหรือ?”กันครับ เพื่อเป็นการไม่เสียเวลา เราไปค้นหาความจริงกันเล้ยย!!

ค่าครองชีพคืออะไร?

“ค่าครองชีพ” ก็คือค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เพื่อการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งค่าใช้จ่ายที่ว่านี้ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการอุปโภคบริโภคนั้นเอง ซึงสิ่งที่ทำให้เกิดปัญหาหลักๆ คือ “ค่าครองชีพสูง สวนทางกับค่าแรงขั้นต่ำ” จึงทำให้การใช้ชีวิตในเมืองกรุงอาจมีปัญหาได้ในอนาคต โดย “กรุงเทพฯ ครองอันดับ 15 เมืองที่ค่าครองชีพสูงที่สุดในโลก” จากข้อมูลของ Global Wealth and Lifestyle Report 2022 ครับ

8 จังหวัดที่มีค่าครองชีพสูงของปี 2022

อันดับที่ 1 จังหวัดนนทบุรี มีค่าครองชีพหรือค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครัวเรือนอยู่ที่ 34,000 บาท

อันดับที่ 2 จังหวัดภูเก็ต มีค่าครองชีพหรือค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครัวเรือนอยู่ที่ 32,900 บาท

อันดับที่ 3 จังหวัดกรุงเทพมหานคร มีค่าครองชีพหรือค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครัวเรือนอยู่ที่ 31,800 บาท

อันดับที่ 4 จังหวัดปทุมธานี มีค่าครองชีพหรือค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครัวเรือนอยู่ที่ 31,500 บาท

อันดับที่ 5 จังหวัดชลบุรี มีค่าครองชีพหรือค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครัวเรือนอยู่ที่ 28,000 บาท

แล้วคำว่า  “ค่าครองชีพ” ถือเป็นค่าจ้างหรือปล่าว?

เกล็ดความรรู้เกี่ยวกับค่าครองชีพที่มักจะมีปัญหากัน

ในหลายๆ ครั้งมักจะมีปัญหาว่านายจ้างจ่ายค่าครองชีพให้กับพนักงานทุกคน ตามข้อตกลงสภาพจ้างเพื่อสวัสดิการช่วยเหลือพนักงานในเรื่อง ค่าใช้จ่ายด้านอุปโภค บริโภค ค่าน้ำมันรถ ที่ปรับตัวสูงขึ้นและบรรเทาในการดำรงชีพ แต่นายจ้างมักอ้างว่าเงินดังกล่าวไม่ใช่ค่าจ้างที่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงาน และเงินค่าครองชีพหากไม่ใช่ค่าจ้างก็จะไม่เป็นฐานในการคำนวณเงินต่างๆ เช่น ค่าทำงานในวันหยุด ค่าทำงานล่วงเวลาในวันหยุด กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โบนัส เงินประกันสังคมและการปรับค่าจ้าง จึงทำให้มีกรณีพิพาทกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้างกันอยู่เสมอๆ ซึ่งศาลเคยตัดสินว่านายจ้างจ่ายค่าครองชีพให้ลูกจ้างมีกำหนดจ่ายเป็นรายเดือนทุกเดือนตลอดมา โดยไม่ปรากฎชัดว่าเหตุที่นายจ้างจ่ายค่าครองชีพให้แก่ลูกจ้างเกี่ยวข้องกับภาระค่าครองชีพโดยเฉพาะ หรือเป็นเงินที่จ่ายเพื่อช่วยเหลืออื่นใด ค่าครองชีพดังกล่าวที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างจึงเป็นการจ่ายเพื่อการตอบแทนการทำงานเป็นเวลาทำงานปกติของวันทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน ถือเป็นค่าจ้าง นั้นเองครับ

ประหยัดค่าครองชีพอย่างไรได้บ้าง?

●วางแผนการเดินทางให้รัดกุม น้ำมันแพงลิตรจะครึ่งร้อยขนาดนี้ ก่อนออกจากบ้าน คุณควรศึกษาเส้นทางให้ดีและวางแผนให้รอบคอบว่าควรจะไปที่ไหนก่อนและหลัง หรือธุระอะไรที่อยู่ใกล้ๆ กันก็รวบมาทำในวันเดียวกันไปเลย จะได้ไม่ต้องขับรถวนไปวนมาให้เสียเวลาเสียเงิน นอกจากนั้น เราแนะนำให้คุณออกไปจ่ายตลาด ซื้อของเข้าบ้านแค่สัปดาห์ละครั้ง เพราะบ่อยกว่านั้นก็เปลืองน้ำมัน หรือถ้านานกว่านั้นแต่ซื้อทีนึงเยอะ การตุนของในตู้เย็นมากเกินไปจะทำให้เปลืองไฟ อีกอย่างที่ลืมไปไม่ได้คือ กรุณาดับเครื่องยนต์ทุกครั้งที่จอดรถทิ้งไว้ เพราะนอกจากจะช่วยประหยัดน้ำมันแล้ว ยังช่วยลดมลพิษได้อีกด้วย

●ประหยัดไฟ ประโยคนี้ฟังดูง่ายๆ ไม่น่าจะเป็นเคล็ดลับอะไร แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นอีกหนึ่งหนทางที่จะช่วยคุณประหยัดเงินในกระเป๋าได้มาก เพราะค่าไฟขึ้นแล้วขึ้นอีก จนไปอยู่ที่หน่วยละ 4 บาทแล้วตอนนี้ แถมหลายคนหันมาเข้าออฟฟิศวันเว้นวัน ทำงานอยู่บ้านก็เปลืองไฟเข้าไปอีก ดังนั้นควรใช้ไฟอย่างประหยัดนั้นเองครับ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูล “ค่าครองชีพที่กรุงเทพสูงกว่าที่อื่นจริงหรือ?” ที่เราจะเห็นได้ว่า มีจังหวัดอื่นที่ค่าครองชีพสูงกว่าเอามากๆ เลยหล่ะครับ หวังว่าทุกๆ ท่านจะได้ความรู้และคำตอบกันนะครับ

Walter Rhodes

Related Posts