Appme

Growing the Economy & Creating High Quality Jobs

5 เรื่องราวชีวิตความเป็นอยู่ในเมืองกรุงที่ต้องเจอ

5 เรื่องราวชีวิตความเป็นอยู่ในเมืองกรุงที่ต้องเจอ

การใช้ชีวิตในเมืองใหญ่หรือเมืองกรุงนั้นไม่ได้สวยหรูอย่างที่ใครหลายๆ คนใฝ่ฝันไว้หรอกครับ แต่ก็มีสิ่งที่ทั้งดี สะดวกและสิ่งที่แย่แถมยังเหนื่อยใจมากมายที่เราจะต้องประสบพบเจอกันอย่างมากเลยจนสามารถทำเป็นมีมต่างๆ ได้เลย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอาหารการกิน การออกกำลังกาย การทำกิจกรรมต่างๆ และสิ่งที่น่าเบื่อที่สุดของกรุงเทพนั้นก็คือ ‘ปัญหารถติด” ซึ่งคงไม่มีใครปฏิเสธอย่างแน่นอนครับ  บทความนี้จะขอพาทุกๆ ท่านไปพบกับ “5 เรื่องราวชีวิตความเป็นอยู่ในเมืองกรุงที่ต้องเจอ” ว่าจะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ไปชมกันดีกว่าครับ

5 เรื่องราวชีวิตของชาวกรุง

เป็นเมืองรถติดที่สุดในอาเซียน

กรุงเทพฯ ครองแชมป์เมืองรถติดที่สุดของอาเซียน จากผลสำรวจของ Boston Consulting Group (BCG) ซึ่งคนกรุงเทพฯ เสียเวลารถติดบนท้องถนนนานถึง 72 นาที/วัน และอีก 24 นาที หมดไปกับการวนหาที่จอดรถ หรือรวมกันกว่า 1 ชั่วโมงครึ่ง/วัน เท่ากับว่าเสียเวลาไป 24 วัน/ปี ขณะที่มีการใช้รถเฉลี่ยเพียง 2.1 คน/คัน โดยมีรถวิ่งบนถนน 5.8 ล้านคัน ขณะที่มีสถิติรถยนต์จดทะเบียนสะสมกว่า 9.82 ล้านคัน เกินพื้นที่ถนนรองรับได้ 4.4 เท่า นั่นคงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้รถล้นเมืองเช่นนี้

Work ไร้ Balance แถบจะที่สุดของโลก

การเก็บข้อมูลของแต่ละเมือง 3 หมวด คือ ความหนักของงาน (Work Intensity) สังคมและสถาบัน (Society and Institutions) และ ความน่าอยู่ของเมือง (City Livability) โดยในแต่ละด้านจะมีการเก็บข้อมูลในมิติต่างๆ เช่น ความหนักของงาน: สัดส่วนงานที่ทำทางไกลได้, สัดส่วนประชากรที่ทำงานล่วงเวลา, จำนวนวันลาขั้นต่ำ, จำนวนวันลาที่ถูกใช้, การว่างงาน, สัดส่วนคนทำงานมากกว่า 1 งาน, อัตราเงินเฟ้อ และจำนวนวันลาคลอด, สังคมและสถาบัน: ผลกระทบจากโควิด-19, ความช่วยเหลือเรื่องโควิด, ระบบสาธารณสุข, การเข้าถึงบริการด้านสุขภาพจิต และความเท่าเทียม

ความน่าอยู่ของเมือง: ค่าใช้จ่าย, ความสุข วัฒนธรรม และกิจกรรมนันทนาการ, ความปลอดภัยของเมือง, พื้นที่กลางแจ้ง, คุณภาพอากาศ และความเป็นอยู่ด้านสุขภาพ ซึ่งทั้งหมดทั้งมวนนี้ล้วนส่งเสริมชาวกรุงเทพทห้สุขภาพร่างกายและจิตใจไร้ความพอดีกันหลายคนเลยก็ว่าได้ครับ

ค่าครองชีพที่สูงขึ้นไม่หยุด

ชีวิตคนกรุงเทพฯ ต้องเผชิญกับค่าครองชีพที่นับวันจะสูงขึ้น จากราคาสินค้าอุปโภคและสาธารณูปโภค รวมทั้งขนส่งมวลชนก็พาเหรดขอปรับขึ้นราคา ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว

ทางเท้าที่รอวันจัดระเบียบ

ในขณะที่สตรีทฟู้ดกลายเป็นอีกหนึ่งจุดขายด้านการท่องเที่ยว หลายร้านถูกแนะนำใน มิชลิน ไกด์ ฉบับกรุงเทพฯ 2018 ซึ่งมีจำนวน 98 ร้าน แต่ถึงจะเป็นที่ขึ้นหน้าขึ้นตาของเมือง แต่ก็สร้างเรื่องที่หนักอกหนักใจอยู่ เช่นกัน เมื่อการตั้งร้านค้าส่วนใหญ่กีดขวางทางเท้า ซึ่ง กทม. ได้มีมาตรการจัดระเบียบทางเท้าและแผงค้าในพื้นที่กรุงเทพฯ เป็นการจัดระเบียบและยกระดับให้ได้มาตรฐานทั้งความสะอาดและความปลอดภัย และไม่ให้รุกล้ำทางเท้าจนเป็นอุปสรรคต่อประชาชนที่สัญจรบนทางเท้าอย่างที่เคยเป็นมา จึงได้มีแนวทางการจัดระเบียบร้านสตรีทฟู้ด โดยปี 2560 ได้นำร่อง 2 จุด คือถนนเยาวราช และถนนข้าวสาร

สายไฟน่าแปลกตาจนดาราฮอลลีวู้ดยังต้องถ่ายรูป!!

ยังมีอีกหลากหลายที่ที่สายไฟฟ้าและสายสื่อสารต่างๆ พันม้วนกันเป็นแผงอย่างกับรังนกและมีสายไฟฟ้าระโยงระยางอย่างมากมาย บทบังทัศนีภาพต่างๆ ของเมืองกรุง แถมยังเป็นอันตรายทำให้เสียทรัพย์และก่อให้เกิดการศูนย์เสียชีวิตได้อีกด้วยครับ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลที่เราได้นำมาฝากกันในวันนี้ เราหวังว่าบทความเกี่ยวกับชีวิตเมืองกรุงที่เรานำมาฝาก หวังว่าจะเป็นประโยชน์และเห็นภาพมากขึ้นนะครับ

Walter Rhodes

Related Posts